ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวสุธิดา คุณโตนด ค่ะ

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Study Notes 6

Study Notes 6
Research in Early Childhood Education
Miss. Jintana     Suksamran
February  15,2016
Group  101 (Monday)

Time  08.30 – 14.30 PM.





การเรียนการสอน

การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าพบทีละกลุ่ม  เพื่อนำเสนอวิจัยของตนเองและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำอย่างละเอียด  เพื่อนำไปปรับแก้ในวิจัยของตนเอง  และอาจารย์ได้ให้หัวข้อมาเพิ่มในวิจัยของตนเอง ดังนี้ 


วัตถุประสงค์การวิจัย                     
    ลักษณะการเขียน  เขียนแสดงกระบวนการหรือกิจกรรมที่ผู้วิจัยต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำมาตอบคำถามการวิจัย ไม่ใช่การเขียนเพื่อการกำหนดประโยชน์หรือสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เช่น  เพื่อศึกษาผลของ  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  เพื่อเปรียบเทียบ  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ  เพื่อศึกษาความพึงพอใจ/ความคิดเห็น  ฯลฯ



ประโยชน์ที่ได้รับ  
      ลักษณะการเขียน
1.  ระบุสิ่งที่เป็นประโยชน์จากข้อค้นพบ มาว่าข้อค้นพบจะเป็นแบบใด หรือไม่เป็นไปตามที่ผู้วิจัยมุ่ง
     หวัง
2.  ผลการวิจัยไม่ว่าจะได้อย่างไร ควรระบุว่าเมื่อได้ทราบผลการวิจัยแล้วเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้า
     หมายอย่างไร
3.  เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการวิจัยทุกข้อ


สมมุติฐานการวิจัย
       ลักษณะการเขียน
1.  เขียนเป็นข้อความคะเนคำตอบที่สอดคล้องกับปัญหาการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยอาศัยการศึกษา  
     แนวคิด ทฤษฏี และผลการวิจัย สนับสนุน)
2.  เขียนเป็นถ้อยคำสื่อความหมาย เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย


ขอบเขตการวิจัย
-  ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                  -  ขอบเขตด้านตัวแปร
                  -  ขอบเขตด้านเนื้อหา
                  -  ขอบเขตด้านระยะเวลา

นิยามศัพท์เฉพาะ
       ลักษะการเขียน
                     1.   เขียนอธิบายความหมายของคำสำคัญที่ปรากฏในชื่อเรื่องงานวิจัย ประกอบด้วย
                   ตัวแปร  และประชากร
                     2.     เขียนเชิงสังเคราะห์เป็นนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการสามารถวัดและทดสอบได้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          ได้รับความรู้ในการทำวิจัยมากขึ้น  ได้รู้หลักการตั้งวัตถุประสงค์  สมมุติฐาน  ขอบเขตการวิจัยและนิยามศัพท์เฉพาะอย่างถูกวิธี  ตามขั้นตอนของวิจัย  นำความรู้ที่ได้จากคำแนะนำของอาจารย์มาปรับปรุงแก้ไขวิจัยของตนเองให้สมบูรณ์ให้มากที่สุด 

การประเมิน

         ตนเอง  :  แต่งกายสุภาพเรียบร้อยถูกระเบียบมหาวิทยาลัย   ตั้งใจนำเสนอวิจัยของกลุ่มตนเองและรับฟังคำแนะนำของอาจารย์เพื่อนำมาแก้ไขวิจัยของตนเองให้สมบูรณ์มากขึ้น
            เพื่อน  :  การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย   ทุกกลุ่มตั้งใจนำเสนอวิจัยของตนเองให้อาจารย์ฟัง
            อาจารย์  :  แต่งกายสุภาพสุภาพเรียบร้อย   รับฟังวิจัยที่นักศึกษานำมาเสนอและให้คำปรึกษาพร้อมข้อเสนอแนะกับนักศึกษาอย่างละเอียด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น